จากข้อมูลของรายงานสงครามอีคอมเมิร์ซของไทย และประเทศเพื่อนบ้าน ไตรมาสที่ 3 ปี 2021
อาจกล่าวได้ว่ายิ่งไวรัส COVID-19 แพร่ระบาดนานเท่าไหร่ ธุรกิจออนไลน์ก็ดูจะก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วขึ้นเท่านั้น ก่อให้เกิดยุค New Normal โดยเฉพาะในไทยที่แม้ห้างสรรพสินค้าจะเปิดให้บริการตามปกติแล้ว แต่ผู้คนก็เน้นไปเพื่อรับประทานอาหาร หาความบันเทิง หรือนัดพบปะกันเท่านั้น ซึ่งยังผูกติดการช้อปปิ้งสินค้าทั่วไป, สุขภาพ และความงาม, เสื้อผ้า และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์กับร้านค้าออนไลน์ดั่งเช่นช่วงปิดเมืองยาวนานที่ผ่านมา
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2021 นี้ iPrice Group บริษัทวิจัยการตลาด และเปรียบเทียบราคาสินค้าออนไลน์ ได้อัพเดตข้อมูลงานวิจัย The Map of E-commerce หรือสงครามอีคอมเมิร์ซ ที่รวบรวมข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์, อันดับการใช้งานแอพพลิเคชั่น และจำนวนผู้ติดตามทางโซเชียล ช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน ปี 2021 จากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซทั้ง 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม และไทย ซึ่งหยิบยกตลาดอีคอมเมิร์ซประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย และเวียดนามมาวิเคราะห์ โดยมีไฮไลท์ที่สำคัญ ดังนี้
Shopee ยืนหนึ่ง ร้านค้าอีคอมเมิร์ซที่ชาวมาเลเซีย เวียดนาม และไทย เข้าชมเว็บไซต์สูงสุด
ไม่ใช่แค่ไตรมาสที่ 3 ปี 2021 ที่ Shopee กลายมาเป็นร้านค้าอีคอมเมิร์ซขวัญใจชาวไทย และตลาดเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย และเวียดนาม) สำหรับตลาดอีคอมเมิร์ซในไทย Shopee ก้าวขึ้นมาครองบัลลังก์ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2020 ในขณะที่ตลาดเวียดนามคว้าชัยไปตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2018 และตลาดมาเลเซียไตรมาสที่ 2 ปี 2019
มากไปกว่านั้น หากทำการเปรียบเทียบร้านค้าอีคอมเมิร์ซประเภททั่วไปทั้งหมดในงานวิจัย Map of E-commerce ของไทย มาเลเซีย และเวียดนาม จะพบว่าส่วนแบ่งการตลาดของ Shopee ในตลาดมาเลเซียมีสูงถึง 71% ในขณะที่ตลาดไทย และเวียดนามมีเปอร์เซ็นส่วนแบ่งการตลาดเท่ากันที่ 57%
ไฮไลท์ที่น่าสนใจคือ ร้านค้าอีคอมเมิร์ซทั่วไปในเวียดนามดูจะมีการแข่งขันอย่างเข้มข้น เพราะนอกจากสามอันดับแรกที่ iPrice Group หยิบยกขึ้นมาข้างต้นนี้แล้ว ร้านค้าอีคอมเมิร์ซประเภททั่วไปอื่น ๆ ยังได้ส่วนแบ่งการตลาดอีกกว่า 14% ในขณะที่ตลาดไทยมีเพียง 6%
การศึกษาข้อมูล
iPrice Group ได้รวบรวมข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ทั้ง 3 ประเทศจาก SimilarWeb โดยใช้การจัดอันดับร้านค้าอีคอมเมิร์ซจากงานวิจัย Map of E-commerce (สงครามอีคอมเมิร์ซ) ในแต่ละประเทศได้แก่ มาเลเซีย, ไทย และเวียดนาม ช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2021 (กรกฎาคม – กันยายน) โดยเน้นร้านค้าประเภททั่วไปเท่านั้น และวิเคราะห์ส่วนแบ่งการตลาดจากผลรวมผู้เข้าชมเว็บไซต์ของร้านค้าประเภททั่วไป
นักช้อปไทยมีส่วนร่วม (Engagement) ต่อโพสบน Facebook ของร้านค้าอีคอมเมิร์ซ น้อยที่สุด
ปัจจุบันโลกโซเชียลกลายมาเป็นสื่อสำคัญทางโลกออนไลน์ไปแล้ว โดยยอดผู้ติดตามก็สามารถบ่งบอกคะแนนความนิยมของร้านค้าอีคอมเมิร์ซแทนจำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้เช่นกัน แต่ความสนใจ หรือความมีส่วนร่วม (Engagement) ต่อโพสต่าง ๆ ของร้านค้าก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
ซึ่งจากการเก็บข้อมูลจำนวนการมีส่วนร่วมต่อโพสบน Facebook ของร้านค้าอีคอมเมิร์ซชั้นนำ 3 อันดับแรกของตลาดอีคอมเมิร์ซในมาเลเซีย เวียดนาม และไทย พบว่า นักช้อปชาวไทยมีส่วนร่วมต่อโพสของร้านค้าอีเมิร์ซน้อยที่สุด เพียง 20% เท่านั้น แม้จำนวนผู้ติดตามจะมีไม่ต่างจากตลาดอีคอมเมิร์ซประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย และเวียดนาม) แต่คาดส่วนใหญ่กดติดตามเพื่อรอการอัพเดตโปรโมชั่น และแคมเปญน่าสนใจต่าง ๆ เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ประเทศที่นักช้อปมีส่วนร่วมต่อโพสบน Facebook ของร้านค้าอีคอมเมิร์ซทั่วไปสูงสุดคือ มาเลเซีย คาดเป็นเพราะบัญชี Facebook ของ Shopee, Lazada และ PG Mall ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ทำให้ยอดการมีส่วนร่วมอาจรวมไปถึงนักช้อปชาวต่างชาติที่ทำงานอยู่ในประเทศด้วยต่างจากไทย และตลาดเวียดนาม (36%) ที่ข้อมูลบนเพจเป็นภาษาท้องถิ่น
การศึกษาข้อมูล
iPrice Group ได้รวบรวมข้อมูลการมีส่วนร่วมต่อโพสบนแพลตฟอร์ม Facebook โดยใช้คำค้นหาเป็นชื่อร้านค้าอีคอมเมิร์ซ 3 อันดับแรก (ร้านค้าทั่วไป) ของแต่ละประเทศได้แก่ มาเลเซีย, ไทย และเวียดนาม ข้อมูลทั้งหมดอ้างอิงจากการที่ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมต่อโพส เช่น ‘แสดงความคิดเห็น’, ‘ถูกใจ’, ‘ว้าว’ , ‘รักเลย’, ‘ฮ่าฮ่า’, ‘เศร้า’ และ ‘โกรธ’ บน Facebook ตลอด 1 ปี ที่ผ่านมา (15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020 – 2021)
ชาวไทย ใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลสูงสุดใน SEA (ไม่รวมสิงคโปร์)
เป็นอนิสงค์อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 อีกนั่นเอง ที่ทำให้เกิดวิถีชีวิตแบบ ‘New Normal’ ขึ้น สอดคล้องกับรายงานของ Google, Temasek และ Bain & Company ว่าด้วยการเพิ่มขึ้นของจำนวนการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันได้แก่ มาเลเซีย, เวียดนาม, ไทย, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ หากนำตัวเลขผู้ใช้งานมาเปรียบเทียบกันจะเห็นว่า คนไทยมีการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลสูงสุดในภูมิภาคถึง 89.99% แบ่งเป็นก่อนการแพร่ระบาด 73.7% ช่วงแพร่ระบาดจนถึงครึ่งปีแรกปี 2021 อีก 16.2% และผู้ที่ไม่ได้ใช้งานมีเพียง 10.1% เท่านั้น
โดยการเปรียบเทียบนี้จะไม่รวมประเทศสิงคโปร์เพราะจำนวนประชากรที่มีจำกัด ทำให้การใช้ชีวิตควบคู่ไปกับธุรกิจดิจิทัลดูเป็นเรื่องปกติ แม้แต่แพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ยักษ์ใหญ่ในภูมิภาคอย่าง Shopee และ Lazada ยังมีต้นกำเนิดจากประเทศนี้
สำหรับเหตุผลที่ผู้บริโภคหันมาใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลกันอย่างต่อเนื่องส่วนใหญ่เพราะเชื่อว่า ‘ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น/สะดวกสบายมากขึ้น’ หากขุดลึกไปถึงการใช้งานแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจะพบว่า ผู้คนส่วนใหญ่เน้นการช้อปสินค้าทั่วไป(65%), สินค้าเพื่อสุขภาพ และความงาม (62%), เสื้อผ้า (60%) และอิเล็กทรอนิกส์ (53%)
นอกเหนือจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซก็จะเป็นแพลตฟอร์มขนส่งอาหาร (64%), วิดีโอ (57%) และดนตรี (51%) โดยแพลตฟอร์มดนตรีผู้คนใช้งานเพราะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มากกว่าการเชื่อว่าจะทำให้ชีวิตง่ายขึ้น/สะดวกสบายขึ้น
ที่มา: Google-commissioned Kantar SEA e-Conomy Research 2021.
หมายเหตุ: ‘ผู้ใช้งานก่อนการแพร่ระบาด’ หมายถึงผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ชําระค่าบริการออนไลน์อย่างน้อยหนึ่งบริการผ่านช่องทางดิจิทัลก่อนมี.ค. 2563 ‘ผู้ใช้งานรายใหม่ปี 2563’ เริ่ม ชําระค่าบริการออนไลน์อย่างน้อยหนึ่งบริการผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นครั้งแรกระหว่างมี.ค.-ธ.ค. 2563 ‘ผู้ใช้งานรายใหม่ครึ่งปีแรกของปี 2564’ เริ่มชําระค่าบริการออนไลน์อย่างน้อย หนึ่งบริการผ่านช่องทางดิจิทัลอย่างน้อย 1 รายการตั้งแต่ม.ค. 2564 เป็นต้นไป
ปี 2021 ฟิลิปปินส์ คือประเทศที่มีมูลค่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นสูงสุดใน SEA
นับได้ว่าช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เป็นเวลาทองของธุรกิจดิจิทัลเลยก็ว่าได้ จากข้อมูลของ Google, Temasek และ Bain & Company พบว่า ฟิลิปปินส์คือประเทศที่มีมูลค่าของธุรกิจอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นสูงสุดใน SEA เมื่อนำมาเปรียบเทียบระหว่างปี 2020 – 2021 โดยเติบโตสูงถึง 132% รองลงมาคือไทย และมาเลเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเท่ากันที่ 68% ตามมาด้วยเวียดนาม 53%, อินโดนีเซีย 52% ปิดท้ายด้วยสิงคโปร์ 45%
ในรายงานยังมีการคาดการณ์มูลค่าของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในปี 2025 โดยประเทศที่คาดจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ เจ้าประจำอย่างอินโดนีเซีย คาดจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 104 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยจำนวนประชากรที่มากกว่าประเทศอื่น ๆ ใน SEA หลายเท่าตัว ถัดมาคือตลาดอีคอมเมิร์ซในเวียดนาม คาดจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดเพราะเวียดนามเป็นประเทศที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซทั้งเจ้าถิ่น และต่างแดนแข่งขันกันดุเดือดที่สุด ตามมาด้วยไทยที่คาดมูลค่าจะแตะที่ 35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
การศึกษาข้อมูล
iPrice Group ได้นำเสนอข้อมูลรายงานจากบริษัท Bain ในรายงาน e-Conomy SEA 2021 ของ Google, Temasek และ Bain & Company
เก็บข้อมูล เขียน และวิเคราะห์โดย ขนิษฐา สาสะกุล
สรุปข่าวเด่นประเด็นร้อน
เล่าความผ่านเว็บ
ช่วงนี้มีแต่ข่าวน้ำท่วม
เบื่อนะ ช่วงนี้มีแต่ข่าวน้ำท่วม ทั้งที่ข่าวมันก็ซ้ำๆ กันในหลายสำนัก เปิดทีวีมาเจอช่องข่าวต่าง ๆ รายงานข่าวเดียวกัน สถานที่เดียวกัน
อ่านเรื่องนี้ต่อท่องเที่ยว
เหตุผลที่ควรเลือก แผนประกันเดินทางต่างประเทศ ให้เหมาะสม
เหตุผลที่ในการเลือก แผนประกันการเดินทางต่างประเทศ เพื่อให้เหมาะสมกับตัวคุณเอง มาดูกันว่า ทำไมถึงจำเป็นต้องมี
อ่านเรื่องนี้ต่อเทคโนโลยี
Jobs Worker แนะหาแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย
ต้องการหาแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย ปรึกษา Jobs Worker เพราะเราคือผู้บุกเบิกธุรกิจบริการจัดหาแรงงานต่างด้าวแบบครบวงจร
อ่านเรื่องนี้ต่อท่องเที่ยว
7 คำถามเกี่ยวกับ Verso International School
โรงเรียนนานาชาติ Verso International School จังหวัดสมุทรปราการ เปิดสอนหลักสูตรแบบอเมริกัน ให้นักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ไปถึงเกรด 12 ครอบคลุมเด็กทุกวัยในระดับชั้นก่อนอุดมศึกษา
อ่านเรื่องนี้ต่อสุขภาพและแฟชั่น
แนะนำตัวช่วยสำหรับผู้มีบุตรยาก Millenium IVF Clinic
ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการ มีบุตรยาก ศูนย์รักษาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก ทำให้คู่สมรสที่มีปัญหา มักมองหาศูนย์ที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับเป็นวงกว้าง
อ่านเรื่องนี้ต่อเล่าความผ่านเว็บ
ตรุษจีนปีนี้ จะให้ของขวัญอะไรกับเด็ก ๆ
สำหรับตรุษจีนปีนี้ เด็ก ๆ ควรจะได้อั่งเปา เพราะไม่มีอะไรดีไปกว่าเงินเก็บในบัญชีอีกแล้ว สำหรับคนในยุคสมัยนี้
อ่านเรื่องนี้ต่อข่าวสารจาก forum และกระดานสนทนา ประกาศ แจ้งข่าว เรื่องราวแบ่งปัน
การทำ SEO หน้าเดียว ให้ติดอันดับ สำหรับมือใหม่
เอ้า เร่กันเข้ามา อยากรู้ว่าหน้านี้ติดอันดับยังไง ก็อ่านกันดู ด้วยความร้อนวิชา การทำ SEO หน้าเดียว ให้ติดอันดับ สำหรับมือใหม่ ด้วยตัวเอง รอไม่ได้แล้ว
เลือกบริษัทรับทำ SEO อย่างไรไม่ให้พลาด
การทำ SEO ในยุคนี้นั้นนับว่ามีความสำคัญอย่างมาก เพราะคงไม่มีประโยชน์อะไรหากคุณมีเว็บไซต์แบรนด์สินค้าหรือบริการ